วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประถมศึกษา


ความหมายของการประถมศึกษา
ประถมศึกษาเป็นการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยทั่วไปแล้ว
การศึกษาในระดับประถมศึกษาจะมีระยะเวลาในการเรียนประมาณ 5 - 8 ปี ขึ้นอยู่กับการวางแผนจัดการศึกษาของแต่ละประเทศ
ความมุ่งหมายของการประถมศึกษา
การศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นการศึกษาพื้นฐาน ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน ให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้กับสังคม ตามบทบาทและหน้าที่ของตน ในฐานะพลเมืองดีตามระบอบการปกครอง แบบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุขโดยให้ผู้เรียน มีความรู้ และทักษะพื้นฐานในการดำรงชีวิต ทันต่อการเปลี่ยนแปลง มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ทำงานเป็น และครองชีวิตอย่างสงบสุข
หลักการของการประถมศึกษา
วิวัฒนาการของการประถมศึกษา
1. ประถมศึกษาตอนต้น คือ ช่วงประถมศึกษาปีที่ถึงประถมศึกษาปีที่ 3
(มักเรียกโดยย่อว่า ป.ต้น) เทียบเท่ากับ grade 1-3
ความหมายของการประถมศึกษา
ประถมศึกษาเป็นลำดับการศึกษาขั้นที่ 2
ถัดจากการศึกษาปฐมวัย
แบ่งเป็น 2 ช่วงชั้น คือ
ปัจจุบันกลุมอายุของเด็กวัยระดับประถมศึกษามีปริมาณลดลง อันเนื่องมาจากการวางแผนครอบครัวและการไมไดเขาเรียน
อันเนื่องมาจากการอพยพยายตามบิดามารดาที่ตองเดินทาง
ไปประกอบอาชีพ ในที่ตางๆ
2. ประถมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ ช่วงประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6
(มักเรียกโดยว่า ป.ปลาย) เทียบเท่ากับ grade 4-6
เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปวงชน

เป็นการศึกษา ที่มุ่งให้ผู้เรียน นำประสบการณ์
ที่ได้จากการเรียน ไปใช้ประโยชน์ ในการดำรงชีวิต

เป็นการศึกษา ที่มุ่งสร้าง เอกภาพของชาติ โดยมีเป้าหมายหลักร่วมกัน แต่ให้ท้องถิ่น มีโอกาส พัฒนาหลักสูตรบางส่วน ให้เหมาะสมกับสภาพ และความต้องการได้

แต่เดิมการประถมศึกษาของไทยอาศัยบ้าน วัด วัง เป็นสถานศึกษา มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ต่อมาพระบาทสมเด็จจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงริเริ่มวางรากฐานการประถมศึกษาของไทยขึ้น โดยได้จัดตั้งโรงเรียนแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวัง
เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๔ และขยายการศึกษาต่อไปตามหัวเมืองต่างๆ
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ขึ้นเสวยราชสมบัติพระองค์ได้ทรงรับภารกิจเกี่ยวกับการจัดการศึกษา
สืบเนื่องจากพระราชบิดา ทรงยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า-
เจ้าอยู่หัว ที่ทรงสร้างในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ ขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงให้จัดสร้างโรงเรียนเพาะช่างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงจัดตั้งโรงเรียนเบญจมราชาลัยเพื่อฝึกหัดครูในปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ทรงตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นประถมในปี พ.ศ.๒๔๖๐ ทรงตั้งโรงเรียนพาณิชยการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕
ในปี พ.ศ.๒๔๖๑
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ขึ้น เพื่อบังคับให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้เด็กทุกคนรู้หนังสือจึงทรงตราพระราชบัญญัติประถมศึกษาออกบังคับเป็นเขตๆ ไปเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๔ ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับขึ้นครั้งแรก โดยบังคับโดยบังคับให้เด็กที่มีอายุ ๗ - ๑๔ ปีบริบูรณ์ เล่าเรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนโดยไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียน นอกจากนี้ยังทรงตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นตามท้องที่ในอำเภอ ตำบลต่างๆกัน โดยให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ดูแล
การประถมศึกษาของไทยได้เจริญรุดหน้าไปตามลำดับ ในปี พ.ศ.๒๕๐๙ ได้มีการโอนโรงเรียนประชาบาลนอกเขตเทศบาลทั้งหมด
ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อให้สอดคล้องกับการกระจายอำนาจในท้องถิ่นมีบทบาทในการจัดการศึกษา และในปีพ.ศ.๒๕๒๓ มีพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัดและโรงเรียนประถมศึกษากระทรวงศึกษาธิ-
การไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
กระทรวงศึกษาธิการจึงได้พิจารณาจัดงานวันประถมศึกษาแห่งชาติขึ้นในวันที่ ๒๕ พฤศจิกายนของทุกปี เช่นเดียวกับวันวชิราวุธ โดยถือเอาวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ- เกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นวันประถมศึกษาแห่งชาติ
๒๕ พฤศจิกาวันประถมศึกษาแห่งชาติ
สำหรับประเทศไทยมีจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นประถมศึกษา 6 ปี
ตั้งแต่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6
โดยผู้เข้าศึกษาในระดับประถมศึกษามักจะมีอายุประมาณ 6-7 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ลักษณะของเด็กวัยประถมศึกษา

ลักษณะของเด็กวัยประถมศึกษา  (อายุ  6  –  12 ปี) พัฒนาการทางร่างกาย                                1.      การเจริญเติบโตของร่างกายของ...